วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้นำ ในสภาพปัจจุบัน

สภาพปัจจุบัน ผู้นำ มี 4 แบบ คือ
      1.ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา
     2.ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์
     3.ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
    4.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด

ความหมายของ ผู้นำ

 

     Webster’s Encyclopedic Uunabridged Dictionary ได้บัญญัติว่า “Leadership” เป็นคำนามเกิดจากการผสมระหว่าง “Leader + Ship” มีความหมาย 4 ประการ ดังนี้ 1) ตำแหน่ง หรือหน้าที่ของผู้นำ 2) ความสามารถในการนำ 3) การนำ และ 4) ผู้นำกลุ่ม
     Yuk (1998) ให้คำนิยาม ว่า ภาวะผู้นำ เป็นพฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Shared goal)
     DuBrin (1998) ให้ทัศนะว่า ภาวะผู้นำ เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
     Daft (1999) ให้ความหมายว่า ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำ (Leader) และผู้ตาม (Followers) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Shared purposed)
     Greebberg และ Baron (2003) ได้ให้ความหมายว่า ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มสมาชิก สามารถโน้มน้าวให้ทุกคนในกลุ่มทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กลุ่มหรือองค์การกำหนดไว้
     McShane และ Von Glinow (2005) ได้ให้นิยามไว้ว่า ภาวะผู้นำ หมายถึงความสามารถที่มีอิทธิพลที่จะกระตุ้นจูงใจ และทำให้กลุ่มคนทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดประสิทธิผล และความสำเร็จขององค์การที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
    สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2547) ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้ว่า คือ ผู้นำที่สามารถในการควบคุมและกำกับพลังอำนาจทางอารมณ์ของตนไปเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจรวมทั้งขวัญและกำลังใจและแรงจูงใจของพนักงานตลอดจนส่งเสริมความมีประสิทธิผลให้แก่องค์การ
    นิตย์ สัมมาพันธ์ (2549) ให้คำจำกัดความว่า ภาวะผู้นำ คือ พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อนให้เกดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และระบบองค์กร ไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์
    สุพานี สฤษฏ์วานิช (2549) ให้ทัศนะว่า ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อผู้ตามหรือนำผู้ตามได้อย่างสัมฤทธิ์ผล หรือเป็นความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นทำงานได้อย่างเต็มที่เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของงานอย่างเหมาะสม
    พิบูล ทีปะปาล (2550) ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่า หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ศิลปะความเป็นผู้นำโน้มน้าวบุคคลซึ่งเป็นผู้ตาม ให้เกิดการคล้อยตามยอมรับที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
    เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2550) ให้ทัศนะว่า ภาวะผู้นำเป็นการใช้อิทธิพลของบุคคลหรือของตำแหน่งให้ผู้อื่นยินดีปฏิบัติตามเพื่อที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มตามที่กำหนดไว้
    ภารดี อนันต์นาวี (2551) กล่าวว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการ และสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งได้เป็นที่ยอมรับให้เป็นผู้นำในกลุ่มและมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มบุคคลนั้น สมาชิกในกลุ่มเชื่อว่ามีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กลุ่มเผชิญอยู่ได้ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่หรือการกระทำของผู้นำในการชักจูง หรือชี้นำบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้
                    การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์  รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
   ประเภทของความรู้
                ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน
ความรู้แบบฝังลึก
ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่
ความรู้ชัดแจ้ง
ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด
ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้
การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้
ระดับของความรู้
หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1.            ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
2.            ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
3.            ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
4.            ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้


เรียบเรียงโดย
 นายวีระศักดิ์     อรุณโน      

 
                         
อ้างอิงจาก
http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การนำ Backward Design มาใช้ในการประเมินผลการเรียน

หลักการของ  Backward  Design

                    กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins  และ McTighc  เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้)  สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร  เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances)   ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้  แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
                        กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน   แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
           ขั้นตอน 1 :  อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
           ขั้นตอน 2 :  อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
           ขั้นตอน 3 :  ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุน
                                ทำให้เกิดความเข้าใจ  ความสนใจและความยอดเยี่ยม
                                หลักฐานนั้นๆ

 ขั้นตอนที่ 1  : อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
                   การใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ   อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals) หรือเป้าหมายของความเข้าใจ  ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)  ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ,  ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน  ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ หลักการต่าง ๆ  หรือกระบวนการต่างๆ
            ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน  และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม  ประกอบด้วย
Ÿ เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
Ÿ มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
Ÿ มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?
Ÿ จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงWiggins  and  McTighe  เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters”  เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
Ÿ เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
Ÿ เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ การลงมือทำ  ในเนื้อหาวิชา)
Ÿ ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
Ÿ สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียนความเข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,  ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ  (สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ  ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ขั้นตอนที่ 2   : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ

           ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า  ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six  facets  of  understanding)  โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง  เมื่อนักเรียนสามารถ
Ÿ อธิบายชี้แจงเหตุผล (can  explain)
Ÿ แปลความตีความ (can interpret)
Ÿ ประยุกต์ (can apply)
Ÿ มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have  perspective)
Ÿ สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
Ÿ มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have  self – knowledge)
ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน  ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย  ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ  เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning  styles)  นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้านให้กับนักเรียนทุกคน ทั้งหกด้าน (six facets)  ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการออกแบบการประเมินผลและการเรียน
การสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2
คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design” แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม  ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ  คณะครูผู้สอน  มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ  (Performance  tasks) ด้วย Wiggins  and  Mctighe  สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม  อันประกอบด้วย  การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ  และการแสดงความสามารถต่าง ๆ  ต้อง :
Ÿ สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing  understand) 
Ÿ ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ  อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ
ผลงาน / ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอเน้นถึงความสำคัญ   การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน  มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น
              ขั้นตอนที่ 3  :  อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร

              ในขั้นตอนที่3ของกระบวนการ backward design ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ(develop  understanding)
                        การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมีระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน  นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขาที่สืบค้น (inquiries)  ประสบการณ์โดยตรง กระบวนการให้เหตุผล (arguments) การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้ ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ 
                        ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :
                        -  สร้างทฤษฎี  อธิบายชี้แจง แปลความ  ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ กัน  หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่จะจดจำ
                        ประสบการณ์ต่างๆ  เหล่านี้  ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก  และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียนเจาะลึก (unearth) วิเคราะห์แยกแยะ  ตั้งคำถาม  พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ  ไป   การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง  มองเห็นภาพ (ตัวแทนหรือรูปจำลอง)  และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
                       สิ่งที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based  approach) ที่ต้องการ ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)  ในการเลือกเนื้อหา
        การทบทวนและขัดเกลา  (Review  and  Refine)
                        ดูเหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward  design”  ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้วในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
                        การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย 
                        backward  design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่  สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ  มัน
                        คือสิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่  คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร  ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา  เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ
                               Backward design และการเรียนรู้ในสิ่งที่สำคัญๆ กรอบแนวความคิดนี้มีประโยชน์ต่อการใช้สอย เมื่อแบบจำลอง backward design ถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดเชื่อมโยงกันทั้ง 3 ขั้นตอนของแบบจำลอง (model)  เกี่ยวข้องกับกรอบแนวความคิดการเรียนรู้ที่สำคัญและเอกสารด้านอื่น ๆ ที่มีประโยชน์

 อ.วีระศักดิ์  อรุณโน
โรงเรียนวัดท่าเยี่ยม สพป.บร.4 : 089-8486830
-------------------------
เอกสารอ้างอิง  Planning05 November  2004 http://www. ltag.education.tas.gov. au/ planning/models/princbackdesign.htm.

วิสัยทัศน์ เป็นคำค่อนข้างใหม่ เมื่อ ได้ฟัง

วิสัยทัศน์ เป็นคำค่อนข้างใหม่ เมื่อ ได้ฟัง ได้เห็นแล้ว มีความรู้สึกเหมือนจะเข้าใจได้ง่าย ๆ คงจะเป็นเพราะคุ้นเคยอยู่กับคำ ทัศนวิสัย แต่เมื่อจะอธิบาย หรือคุย ให้คนอื่นเข้าใจตามไปด้วย กลับพบว่า ไม่ง่ายอย่างที่คิด จึงต้องค้นดูความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ ที่ได้ใช้เป็นคู่มือมาหลายปีแล้ว
                    วิสัยทัศน์ ไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม คงมีแต่คำ ทัศนวิสัย วิสัย และ ทัศน์ ดังนี้
                    วิสัย เป็นคำนาม หมายถึง ขอบ เขต แดน ลักษณะที่เป็นอยู่
                    ทัศน์ เป็นคำนาม หมายถึง ความเห็น การเห็น เครื่องรู้เห็น สิ่งที่เห็น การแสดง
                    ทัศนวิสัย เป็นคำนาม หมายถึง ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่า และบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร เหตุที่ วิสัยทัศน์ เป็นคำใหม่ จึงมิได้ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม เช่นเดียวกับคำใหม่อื่น ๆ ที่มักจะแปลมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว มักจะต้องทำความเข้าใจกัน อีกขั้นตอนหนึ่งหากจะนำความหมายของคำ วิสัย กับ ทัศน์ มาปรุงให้เป็นความหมายของคำ วิสัยทัศน์ อาจจะได้ความหมายหลายอย่าง เช่น ขอบความเห็น เขตการเห็น แดนเครื่องรู้เห็น หรืออื่น ๆ ซึ่งไม่อาจสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ คงจะต้องขอให้ปราชญ์ทางภาษาไทยช่วยเหลือต่อไป
                    วิสัยทัศน์ มาจากภาษาอังกฤษ Vision ซึ่งแปลว่า สายตา สายตาไกล เกี่ยวกับสายตา เกี่ยวกับการดู การหลับตามองเห็น ภาพ ภาพประหลาด นิมิต ปีศาจ ทัศนวิสัย มาจากภาษาอังกฤษ Visibility ซึ่งแปลว่า เห็นได้ ชัด ความกระจ่าง(ของอากาศ) ผู้เขียนมีความเห็นว่า ทัศนวิสัย เป็นเรื่องของรูปธรรม สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และบอกได้ว่าเป็นอะไร ส่วน วิสัยทัศน์ เป็นเรื่องของนามธรรม เป็นเรื่องของจินตนาการที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บอกไม่ได้ว่าสิ่งที่จินตนาการเห็นได้นั้นเป็นอะไร นอกจากนั้นจะพบว่า ทัศนวิสัย เป็นสิ่งที่เกิดอยู่ในปัจจุบัน ต่อหน้าผู้พบเห็น ส่ววิสัยทัศน์นั้น อยู่ในอนาคต ต้องรอพิสูจน์เมื่อเวลามาถึงว่า จินตนาการนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ปฏิบัติได้หรือไม่ หากมีผลเกิดขึ้นจริง หรือปฏิบัติได้จริง ย่อมจะเป็นข้อสรุปว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ไกล  สตีเว่น สปีลเบิร์ก อาจจะเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีวิสัยทัศน์ไกล ในด้านการทำกำไรจากการสร้าง
ภาพยนตร์ เขามองเห็นในวิสัยทัศน์ของเขาว่า สร้างภาพยนตร์อย่างไรจึงจะถูกใจ หรือโดนใจคนดู ประกอบกับความเข้าใจในเทคโนโลยี และขีดความสามารถของเครื่องมือสำหรับการสร้างภาพยนตร์ และผสมผสานกับความสามารถของทีมงาน ทำให้ผลงานสร้างภาพยนตร์ของเขาเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก สตีเว่น สปีลเบิร์ก เป็นผู้ที่มีปัญญาที่เกิดตามธรรมชาติที่สูงส่งผู้หนึ่ง ผลงานภาพยนตร์ใหม่ที่จะออกสู่สายตาชาวโลก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล เพื่อการบันเทิงบนพื้นฐานของความโกหกของเขา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดของคอมพิวเตอร์ที่มีปัญญาที่มนุษย์ประดิษฐ์ให้ คือเรื่อง Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งน่าจะเรียกว่า ปัญญาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น นั่นเองขอย้ำความเข้าใจว่า บทความนี้อยู่ภายใต้ Web Page ชื่อ คุยเฟื่องถึงเรื่องที่รู้อยู่แล้ว ดังนั้น อาจจะมีเนื้อหาที่ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว แต่ในที่นี้เป็นการบันทึกแนวความคิดถึงเรื่องที่รู้อยู่แล้ว เพื่อผู้ที่ยังไม่รู้อยู่บ้าง และที่ยกตัวอย่างมาจากภาพยนตร์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้ได้ชมจำนวนมาก ก็เนื่องจากเห็นว่าเป็นแบบอย่างที่นำมาเปรียบเทียบได้เท่านั้น ไม่ได้เป็นการเชื้อเชิญให้ไปช่วยกันสละเงินออกนอกประเทศแต่อย่างใด

จากโรงเรียนวัดท่าเยี่ยม

เยี่ยมบ้านนักเรียน

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างประสบผลสำเร็จ มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ รวมทั้งการเฝ้าระวังปัญหานักเรียนออกกลางคันและปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน จึงได้กำหนดให้ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นปีแห่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างรอบด้าน เพื่อรณรงค์ให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็ง
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับสถานศึกษาและเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมรณรงค์ใน ๒ กิจกรรมหลัก ได้แก่
- กิจกรรมการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ครั้งที่ ๑ เดือนกรกฎาคม ครั้ง ๒ เดือนพฤศจิกายน
-กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ ๑ เดือนสิงหาคม ครั้งที่ ๒ เดือนธันวาคม
และแสวงหาแนวทางสนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต กิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (นักเรียน YC) การจัดบริการแนะแนวอย่างมีคุณภาพ กิจกรรมเสริมสร้างวินัยเชิงบวกหรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะติดตามผลการดำเนินงานและประสานขอข้อมูลรายละเอียดในการดำเนินงานของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป
จึงให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสถานศึกษา รวมทั้งนิเทศติดตาม กระตุ้นเตือน และสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษาให้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควรด้วย 

จากโรงเรียนวัดท่าเยี่ยม